เหตุผลความจำเป็นของโครงการ
ตามที่คณะกรรมาธิการการคมนาคม สภานิติบัญญัติแห่งชาติกับหน่วยงานด้านการคมนาคมของจังหวัดเชียงใหม่ ได้ประชุมในวันอังคารที่ 23 สิงหาคม 2559 ณ ศูนย์ราชการจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อรับทราบปัญหาและสนับสนุนให้หน่วยงานที่รับผิดชอบดำเนินการแก้ไขปัญหาจราจร โดยเล็งเห็นความสำคัญที่ควรจะมีเส้นทาง ที่จะช่วยแบ่งเบาการจราจรบน ทล. 107 และ ทล. 1001 ปัจจุบัน โดยให้หาแนวทางเชื่อมถนนสาย ทล. 107 กับถนนสาย ทล. 118 ให้เป็นโครงข่ายวงแหวนรอบนอกอีกหนึ่งเส้นทาง สำนักสำรวจและออกแบบได้ดำเนินการจัดจ้างที่ปรึกษาดำเนินการศึกษาความเหมาะสม และสำรวจออกแบบส่วนต่อขยายถนนสายเลี่ยงเมืองแม่ริม อ. แม่ริม จ. เชียงใหม่ (ตอนที่ 1) และเพื่อเป็นการแก้ปัญหาจราจรในภาพรวมของอำเภอแม่ริม และอำเภอใกล้เคียงของจังหวัดเชียงใหม่ สำนักสารวจและออกแบบ กรมทางหลวงชนบท จึงได้ให้มีการศึกษาความเหมาะสมของโครงการถนนสายเชื่อมต่อ ทล. 1001 – ทล. 118 จ. เชียงใหม่ โดยโครงการดังกล่าวจำเป็นที่จะต้องดำเนินการจ้างที่ปรึกษาทาการศึกษาความเหมาะสมของโครงการ อีกทั้งจะต้องมีการศึกษาการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น (IEE) และผลกระทบต่อชุมชน และการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) (ถ้ามี)
เนื่องจากโครงการดังกล่าวมีความซับซ้อนมาก ในการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ โดยเฉพาะการสำรวจออกแบบเบื้องต้น Conceptual Design จะต้องมีการออกแบบทางเชื่อมทางแยกกับถนนสายหลักของกรมทางหลวง และสะพานข้ามแม่น้ำคลอง หนอง และบึง (ถ้ามี) ซึ่งการออกแบบเบื้องต้นต้องเป็นไปตามหลักมาตรฐานสากล จะต้องมีความปลอดภัยต่อผู้ใช้ทาง โดยจะต้องมีการศึกษาผลกระทบต่อชุมชน การออกแบบแนวเส้นทางและรูปแบบของทางแยกต่างระดับต่างๆ จึงต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านในการดำเนินการ เช่น การเข้าใจหลักการสำรวจ/ออกแบบทางเชื่อมทางแยกถนนสายหลัก การออกแบบทางแยกต่างระดับ (Grade Separation – Overpass or Underpass or Interchange) พื้นที่เสี่ยงภัยแผ่นดินไหว บริเวณที่ 2 (พื้นที่หรือบริเวณที่อยู่ใกล้รอยเลื่อน) รวม 10 จังหวัด รวมทั้งการศึกษาด้านธรณีวิทยาของโครงสร้างดินบริเวณพื้นที่ศึกษา การวิเคราะห์เพื่อแก้ปัญหาการจราจร และการระบายน้ำบริเวณทางแยกซึ่งเป็นย่านชุมชน ประกอบ กับน้ำใต้ดินในจังหวัดเชียงใหม่อยู่ในระดับสูง เป็นต้น